เมนู

อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ 4



พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุง-
สาวัตถี ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้
เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ดังนี้ :-
ได้ยินว่า พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่าน
อนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้า
เจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ. เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้ง
นั้นว่า เป็นลูกสาว. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตา
ตกแตก เพราะความเลินเล่อ. แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาว
เราตายแล้ว. เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคน ก็ไม่สามารถ
จะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบน
ปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. และท่าน
มหาเศรษฐี ก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. หญิงพี่เลี้ยง
ได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี. ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่า
เด็กหญิงนี้ร้องไห้ เพื่ออะไรกัน. พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน
เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้น นั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่า
ฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้วจึงกราบทูลแต่พระศาสดา
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทาน อุทิศแก่
ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลานของข้าพระองค์, ขอพระองค์
พร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป จงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

ครั้นในวันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป
เสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะ
ทำอนุโมทนา จึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิง
อยู่ในเรือน หรือท้าวมหาราชทั้ง 4 ผู้รักษาโลก
ผู้มียศ คือท้าว ธตรฐ 1 วิรุฬหก 1 วิรูปักษ์ 1
และท้าวกุเวร 1 ให้เป็นอารมณ์แล้วพึงให้ทาน
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายก
ก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือความ
ร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้
เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลาย คงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตน ๆ
อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วใน
พระสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์ โดย
ฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้น สิ้นกาลนาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ความว่า
ปรารภ คือ อุทิศ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุมีเหตุที่เป็น
มงคลเป็นต้น. บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า
ชื่อว่า อมัจฉรี เพราะไม่มีความตระหนี่ อันมีลักษณะไม่อดทน
ต่อสมบัติของตนที่ทั่วไปกับผู้อื่น, อธิบายว่า ผู้มีปกติบริจาค ทำ

มลทินแห่งจิตมีมัจฉริยะและโลภะเป็นต้น ให้ห่างไกลแล้ว พึงให้ทาน.
บทว่า ปุพฺพเปเต จ อารพฺภ ได้แก่ อุทิศบุรพเปตชน. มีวาจาประกอบ
ความว่า บทว่า วตฺถุเทวดา ปรารภเทวดาผู้สิงอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ
มีที่เรือนเป็นต้น. ด้วยคำว่า อถ วา นี้ ทรงแสดงว่า ปรารภเปตชน
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเทวดาและมนุษย์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นแล้ว พึง
ให้ทาน.
ในคำเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเทพ
ผู้ปรากฏบางพวกในบรรดาเทพเหล่านั้นก่อน จึงตรัสว่า จตฺตาโร จ
มหาราเช
เมื่อจะระบุเทพเหล่านั้น โดยชื่ออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า
กุเวรํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเวรํ ได้แก่ท้าวเวสสวรรณ.
บทว่า ธตรฏฐํ เป็นต้น เป็นชื่อของท้าวโลกบาลทั้ง 3 ที่เหลือ.
บทว่า เต เจว ปูชิตา โหนฺติ ความว่า ก็ท้าวมหาราชเหล่านั้น และ
บุรพเปตชนและวัตถุเทวดา เป็นผู้อันเขานับถือ ด้วยการทำอุทิศ.
บทว่า ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า และทายกผู้ให้ทาน ย่อมไม่ไร้ผล
เพราะเหตุเพียงการอุทิศแก่เปตชนเหล่าอื่น ทั้งเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ผลทานของตนเหมือนกัน.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้น ของเหล่านั้น
ร้องไห้ ร่ำไร เศร้าโศก เพราะญาติของตนตายไป ไม่มีประโยชน์
เป็นแต่เพียงทำตนให้เดือดร้อนเท่านั้น จึงตรัสคาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า ร้องไห้
คือหลั่งน้ำตา. บาลีที่เหลือพึงนำมาเชื่อเข้าด้วยบทว่า น หิ กาตพฺพํ.

บทว่า โสโก ได้แก่ ความเศร้าโศก คือ ความเร่าร้อนภายในใจ,
อธิบายว่า ความหม่นไหม้ในภายใน. บทว่า ยา จญฺญา ปริเทวนา
ได้แก่ ความพิไรรำพรรณอย่างอื่น จากการร้องไห้และความ
เศร้าโศกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบ่นเพ้อด้วยวาจามีอาทิว่า ลูกคนเดียว
อยู่ไหน ? อธิบายว่า แม้การบ่นเพ้อด้วยวาจานั้น ก็ไม่ควรทำ. วา
ศัพท์ในบททั้งปวง เป็นวิกัปปัตถะ แปลว่า บ้าง, หรือ, ก็ดี,. บทว่า
น ตํ เปตสฺส อตฺถาย ความว่า เหตุมีอาทิว่า การร้องไห้ก็ดี ความ
เศร้าโศกก็ดี การร่ำไรก็ดี ทั้งหมดนั้น ไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะ
แก่ผู้ละไปแล้ว คือ ผู้ตายไปแล้ว ฉะนั้น เหตุมีการร้องไห้เป็นต้นนั้น
จึงไม่ควรทำ, อธิบายว่า แม้ถึงอย่างนั้น พวกญาติก็ไม่รู้เรื่องด้วยคง
ดำรงอยู่อย่างนั้น.
พระคาสดาครั้นทรงแสดงถึงเหตุแห่งทุกข์ธรรมมีการร้องไห้
เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทักษิณาที่ทายกปรารภ
บุรพเปรตเป็นต้น แล้วถวายแด่พระสงฆ์ว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์
จงตรัสคาถาว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า อยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงถึงทานที่ทายก
ให้แล้วนั้น โดยประจักษ์จึงตรัสไว้. คัพท์ เป็น พยติเรกัตถะ
แปลว่า อัน. ด้วย ศัพท์นั้น ย่อมส่องอรรถอันพิเศษเฉพาะที่
กำลังจะกล่าวว่า ทักษิณานี้ หาได้เป็นเหมือนเหตุมีการร้องไห้
เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ ผู้ละไปแล้วไม่ อันทักษิณานี้
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้จะไปแล้วนั้น ตลอดกาลนาน. ศัพท์ว่า

โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ แปลว่า ห้ามเนื้อความอื่น. บทว่า
ทกฺขิณา ได้แก่ ทาน. บทว่า สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺฐิตา ได้แก่ ตั้งไว้ดีแล้ว
ในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส
ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้น ตลอดกาลนาน. บทว่า
ฐานโส อุปกปฺปติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จในขณะนั้นนั่นเอง. อธิบายว่า
ไม่ใช่ในกาลอื่น. จริงอยู่ นี้เป็นธรรมดาในข้อนั้นว่า หากเปรต
อนุโมทนาทาน ในเมื่อทายกถวายทานอุทิศเปรต เปรตก็จะหลุด
พ้นไปด้วยผลแห่งทานนั้น ในขณะนั้นนั่นเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรง
กระทำให้มหาชนมีใจยินดียิ่งในทานที่อุทิศเปรตแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะ หลีกไป. วันรุ่งขึ้น ภริยาเศรษฐี และพวกญาติที่เหลือ
เมื่อคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ 3 เดือน
ด้วยอาการอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่ไปเรือนของหม่อมฉัน ประมาณ 1 เดือนแล้ว.
เมื่อพระศาสดา ตรัสบอกเหตุนั้นแล้ว ฝ่ายพระราชาเมื่อจะทรง
คล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประธาน. ชาวเมืองเห็นดังนั้น เมื่อจะอนุวัตรตาม
พระราชา จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ 1 เดือน. ชาวเมืองให้

มหาทาน ซึ่งมีตุ๊กตาแป้งเป็นเหตุเป็นไปตลอด 2 เดือน ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ 4

5. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ



ว่าด้วยเปรตให้พรแก่ผู้ให้ทานแล้วอุทิศให้ตน


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า :-
[90] เปรตทั้งหลายพากันมา สู่เรือนของตน
แล้วยืนอยู่ภายนอกฝาเรือนที่ตรอก และทาง
3 แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว
น้ำ ของกิน ของบริโภคเป็นอันมาก เขาเข้าไป
ตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้นระลึก
ไม่ได้ เพราะกรรมของสัตว์เป็นปัจจัย เหล่าชน
ผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด
ประณีต สมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทาน
ที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศ
ว่า ขอทานนี้แลจงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของ
เรา ขอชาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุขเถิด ส่วน
เปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมนุมในที่นั้น
เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่เพียงพอ ย่อมอนุโมทนาโดย
เคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งชาติเหล่าใด
ขอญาติของเราเหล่านั้นจงมีชีวิตอยู่ยืนนาน การ
บูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย
และญาติทั้งหลายผู้ให้ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปต